High-Efficiency Motors IE2 | มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงพร้อมจัดส่งทุกวัน >> CLICK <<

ทำอย่างไร เมื่อมอเตอร์ถูกน้ำท่วม?

เนื่องจากสภาวะอุทกภัยนั้นสร้างความเสียหายให้กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการพัฒนาประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ทุกหน่วยงาน ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องร่วมฟื้นฟูกำลังการผลิตของประเทศ

หากโรงงานของท่านถูกน้ำท่วม และเครื่องจักรได้รับความเสียหาย มอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งเป็นต้นกำลังของเครื่องจักรกว่า 90% ต้องได้รับการตรวจสอบซ่อมแซมก่อนที่จะกลับมาเริ่มเดินเครื่องใหม่อีกครั้ง เราในฐานะผู้จัดจำหน่ายมอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์เกียร์ เกียร์ทดรอบ เครื่องส่งกำลังนานาชนิด ตลอดจนเครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์ มีคำแนะนำในการตรวจสอบอุปกรณ์ของท่าน เพื่อให้เครื่องจักรของท่านสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ 100%

มอเตอร์ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วม

  • ถอดสายไฟทั้งหมดออก และเก็บค่าตั้งศูนย์คัปปลิ้ง (Coupling Alignment Data) เคลื่อนย้ายมอเตอร์ลงจากฐาน และนำเข้า Workshop
  • ตรวจสอบค่าทางไฟฟ้า เช่น ค่าความต้านทานของขดลวด (Winding Resistance) ความเป็นฉนวนของขดลวดระหว่างเฟสกับกราวด์ (Insulation Resistance) ตรวจสภาพของหัวเช็คอุณหภูมิ (PTC) และชุดฮีทเตอร์ (Heater) หากมี
  • ตรวจสอบชิ้นส่วนทางกล ถอดประกับเพลา (Coupling) หรือมู่เล่ย์ (Pulley) ตรวจสอบขนาดและความตรงของเพลา ถอดฝาครอบใบพัดและใบพัด ถอดฝาประกบเบ้าลูกปืนหน้า-หลัง (DE & NDE) ถอดทุ่นโรเตอร์ (Rotor) ออกจากสเตเตอร์ (Stator) ถอดตลับลูกปืนเก่าออกพร้อมตรวจสอบพิกัดโตในของเบ้าลูกปืนหน้า-หลัง บันทึกข้อมูลและจัดหาอะไหล่
  • ตรวจเช็คชุดสเตเตอร์ (Stator Overhaul) ตรวจเช็คสายลีด (Lead) และจุดต่อในขดลวด ตรวจเช็คลิ่มปิดร่องสล็อท (Slot) ตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนของขดลวดระหว่างเฟสกับกราวด์ (Insulation Resistance) **หากค่าทางไฟฟ้ามีค่าต่ำกว่าพิกัด ควรพันขดลวดใหม่** ทำความสะอาดขดลวดด้วยน้ำยาเคมีโดยใช้ปั๊มแรงดันสูง นำเข้าตู้อบ ตรวจเช็คค่าทางไฟฟ้า และจุ่มน้ำยาวานิช (ถ้าจำเป็น) แล้วนำเข้าตู้อบอีกครั้ง
  • ตรวจเช็คทุ่นโรเตอร์ (Rotor Overhaul) ตรวจเช็คแท่งโรเตอร์ (Rotor Bar) และวงแหวนช็อตหน้า-หลัง ทำความสะอาดด้วยน้ำผสมน้ำยาเคมีโดยใช้ปั๊มแรงดันสูง นำเข้าตู้อบ ตรวจเช็คทางไฟฟ้าและจุ่มน้ำยาวานิช (ถ้าจำเป็น) แล้วนำเข้าตู้อบอีกครั้ง
  • ทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆ ด้วยน้ำผสมน้ำยาเคมีโดยใช้ปั๊มแรงดันสูง พ่นเคลือบชิ้นส่วนต่างๆ ด้วยน้ำยาวานิชแดง นำชิ้นส่วนเข้าตู้อบ
  • เปลี่ยนตลับลูกปืน (Bearing) ใหม่ อัดจาระบีตามลักษณะการติดตั้งของตลับลูกปืน แล้วประกอบชิ้นส่วนทั้งหมด
  • ทดสอบมอเตอร์โดยจ่ายแรงดันไฟตามที่กำหนด เช็คอุณหภูมิ กระแสไฟ เสียง และการสั่นสะเทือน
  • ทำสีใหม่ตามต้องการ แล้วนำมอเตอร์ไปติดตั้ง ทำการหาศูนย์ของคัปปลิ้ง (Coupling Alignment) ทดลองเดินเครื่อง (อาจทำหลังจากที่ตรวจสอบส่วนประกอบเครื่องจักรอื่นๆ แล้ว) บันทึกประวัติการซ่อม

มอเตอร์ที่ไม่ถูกน้ำท่วมแต่มีความเสี่ยงเสียหาย เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำท่วมและความชื้นสูงเป็นเวลานาน

  • ตรวจสอบค่าทางไฟฟ้า (สามารถทำได้ ณ จุดติดตั้ง) เช่น ค่าความต้านทานของขดลวด (Winding Resistance) ค่าความเป็นฉนวนของขดลวดระหว่างเฟสกับกราวด์ (Insulation Resistance) ตรวจสภาพหัวเช็คอุณหภูมิและชุดฮีทเตอร์ (ถ้ามี) **หากค่าทางไฟฟ้าต่ำกว่าพิกัด ควรดำเนินการเช่นเดียวกับมอเตอร์ส่วนที่ถูกน้ำท่วม**
  • ตรวจสอบชิ้นส่วนทางกล ด้วยการหมุนเพลาด้วยมือเปล่า หากไม่มีปัญหาให้ทดสอบเดินเครื่อง แล้วทำการตรวจวัดอุณหภูมิ กระแสไฟ เสียง และการสั่นสะเทือน **หากผลการทดสอบไม่ปกติ ควรแก้ไขตามแต่กรณี** บันทึกประวัติการซ่อม

ในการซ่อมมอเตอร์ เกียร์ทด หรือเครื่องส่งกำลัง เรายินดีให้คำปรึกษา ช่วยท่านในการบริหารจัดการ เพื่ออุปกรณ์ต้นกำลังของท่านสามารถนำกลับมาใช้งานได้เร็วที่สุด

เพิ่มเพื่อน